วันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ 1824 ณ.กรุงเวียนนา เครื่องดนตรีกว่า 100 ชิ้น และจำนวนนักร้องหลายสิบชิวิต ถูกบรรเลงในบทเพลงที่ยิ่งใหญ่ โดยผู้กำกับท่านหนึ่งที่ใช้เวลาการเขียนนานถึง 6 ปี ครั้งเมื่อการบรรเลงโน้ต ตัวสุดท้ายสิ้นลง เสียงปรบมือและโห่ร้องแสดงความชื่นชอบดังอย่างสนั่นหวั่นไหว แต่ผู้กำกับเพลงไม่ได้หันมาโค้งรับ เขาไม่สามารถหันมาได้ เพราะหูของเขาไม่ได้ยิน ความจริง ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน เป็นนักดนตรีและนักประพันธ์เพลงที่ไม่ได้หูหนวกแต่กำเนิด เขาเกิดที่ประเทศเยอรมณี ฐานะครอบครัว ยากจน ในวัยเด็กเขาไม่ได้ชอบดนตรีแต่ถูกพ่อบังคับให้เล่นดนตรี เพื่อนำเงินมาซื้อสุรา หลังจากที่ทุกบังคับให้เล่นเครื่องดนตรีต่างๆมากมาย ทัศนคติด้านดนตรีของเขาก็เปลี่ยนไป เขาเริ่มรักดนตรี เริ่มที่จะฝึกฝนไวโอลินและออร์แกนด้วยตัวเองอย่างจริงจัง และแววการเป็นอัจฉริยภาพประกดตั้งแต่ 8 ขวบ
ช่วงชิวิตวัยหนุ่มเขาเริ่มโด่งดังดังขึ้นเลยๆ จนเมื่อเขาอายุ 31 ปี หูของเขาเริ่มมีอาการไม่ยินเสียง ไม่นานหูของเขาก็ไม่สามารถได้ยินอะไรเลย ต้องใช้วิธีสือสารด้วยการเขียนหนังสือโต้ตอบกัน สำหรับอาชีพนักดนตรีแล้วหูถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างที่ขาดไม่ได้ เขาท้อแท้และคิดจะฆ่าตัวตาย แต่สุดท้ายหัวใจที่รักดนตรี ก็ไม่สามารถพรากลมหายใจของเขาได้ เขาพิการทางร่างกายภายนอก แต่ภายในหัวใจของเขาไม่ได้พิการ หลังจากรวมรวบสติได้ สิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ก็เกิดขึ้น เขาเริ่มแต่งเพลงอีกครั้ง เมื่อหูไม่ได้ยิน บทเพลงจึงถูกเขียนจากความรู้สึก ในช่วงแรกบทเพลงแทบไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร เนื่องจากฉีกสัญลักษณ์รูปแบบเดิมๆไปทุกอย่าง แต่หากด้วยจิตใจที่ไม่ยอมแพ้ บทเพลงของเบโธเฟนก็อยู่เหนือข้อจำกัดทางกายภาพ การไม่ได้ยินเสียงไม่ได้เป็นอุปสรรค์ในการเขียนเพลงแต่อย่างใด หลังจากนั้นเขาสามารถเขียน บทเพลงซิมโฟนี้ อีกมากมาย จนเป็นที่ยอมรับข้ามมาหลายศตวรรษ
ปัจจุบันมีนักศึกษาจำนวนมากสมัครเข้าเรียนด้านดนตรี ด้วยความมุ่งมั้น มีเป้าหมายในอนาคตชัดเจน แต่เมื่อจบไปนั้นไม่สามารถสืบสารต่อเป้าหมายของสาขาที่ตนเองเรียนได้ (บางกรณีก็ละทิ้งก่อนที่จะเรียนจบ) เหตุผลข้อหนึ่งมาจาก การอดทนต่อระยะเวลาไปถึงความสำเร็จไม่ได้ เช่น หากเราต้องการเล่นบทเพลงบทเพลงหนึ่ง เราก็พยายามที่จะเล่นให้ได้โดยไม่รู้ว่า การจะเล่นเพลงนั้นได้ต้องเรียนรู้พื้นฐานอะไรบาง ต้องฝึกอะไรก่อนจะเล่นบทเพลงนั้น มีบางคนสามารถเล่นจนจบได้แต่ไม่รู้ความหมายของบทเพลง ไม่รู้จักผู้ประพันธ์ เพลงเศร้าแต่กับเล่นด้วยความสนุกสนาน บางคนต้องการที่จะเล่นในภาคปฎิบัติอย่าง โดยไม่สนใจทฤษฎี ความรู้บางอย่างไม่สามารถนำปฎิบัติได้ด้วยความรวดเร็ว ก่อนจะนับ สิบ ก็ต้องเริ่ม จากนับ หนึ่ง สอง สามขึ้นไปเรื่อยๆ หากเปรียบเป้าหมายเป็นยอดเสา เราก็ควรจะศึกษาวิธีการปีนก่อน ขืนปีนไปดื้อๆอาจตกลงมาบาดเจ็บได้ เช่นเดียวกัน คนเราจะประสบความสำเร็จได้อาจต้องผ่านปัญหาต่างๆมานับไม่ทวน สำคัญคือเรายังรักษาเป้าหมายที่ตั้งไว้ก่อนที่จะเดินเข้ารั้วมหาลัยไหม ตกจากเสาเมื่อใด ก็ต้องศึกษาวิธีปีนใหม่เพิ่มเติม ระยะทางของเราไกลกว่าคนอืน อาจจะถึงช้าหน่อย แต่ยังน้อยเราก็ยังได้ก้าวเดินในเส้นทางที่เป็นความฝันของเราเอง แม้จิตรกรระดับโลก อย่าง วินแซนต์ แวนโก๊ะ ที่มีฐานะยากจน ป่วยเป็นโรคทางสมอง และช่วงที่เขายังมีลมหายใจอยู่ เขาขายภาพได้เพียงภาพเดียว แต่เขาก็ยังยืนยันที่จะทำตามเป้าหมายที่ชัดเจน เขายังเขียนภาพสีนำมันกว่า 800 ภาพ ภาพวาดอีก 700 ภาพ เช่นเดียวกับเบโธเฟนหลัวจากที่หูหนวก เขาก็ยังยืนยัดเขียนเพลงในชีวิตอีก 26 ปีที่เหลือ
ปัจจุบันนักศึกษาดนตรีรู้จักชื่อเสียงของ เบโธเฟนเป็นอย่างดี แต่มีน้อยคนมากที่จะรับรู้เส้นทางความอดทนต่างๆ กว่าที่เขาจะมีชื่อเสียงมาถึงทุกวันนี้ หากเรายังคิดกันอยู่ว่าการเรียนในหนึ่งเทอมหนักมาก ลองคิดถึงในยุคที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ แล้วผู้ประพันธ์ต้องเขียนโน้ตด้วยลายมือให้กับเครื่องดนตรีทุกชิ้น ในบทเพลงที่ต้องบรรเลงไม่ต่ำหนึ่งชั่วโมง แต่ละเพลงไม่ได้เขียนเสร็จภายในหนึ่งปีด้วย ถามตัวเองว่าเป้าหมายคืออะไร แล้วใช้ความฝันที่ตั้งใจ เพื่อเป็นไฟขับเคลื่อนไปหามัน
คืนหนึ่ง หลังจากที่ทิ้งตัวลงนอนด้วยความอ่อนล้า ม่านตาเริ่มปิดสนิท แต่ความคิดถูกดึงกลับไปอยู่ในห้วงเวลาของบ่ายวันนั้น สิ่งที่ได้พบเจอ มันทำให้นึกถึงนิทานเรื่องหนึ่ง 1เป็นหมู่บ้านที่มีแต่คนตาบอด มีเพียงแค่เราและผู้ใหญ่บ้านที่มองเห็น เมื่อผู้ใหญ่บ้านสัญญากับลูกบ้านทุกคนว่าจะพาไปที่แหล่งน้ำ ให้ทุกคนเดินจับมือกัน แต่มีเพียงเราเท่านั้นที่เห็น ว่าจริงๆแล้วปลายทางคือก้นเหวลึก หากเราบอกทุกคน อาจไม่มีใครเชื่อ เราไม่มีอำนาจมาพอที่จะดึงทุกคนกลับมา! เมื่อตัวคนเดียวการตัดสิ้นใจที่จะสู้หรือปล่อยไปเป็นเรื่องที่ตัดสิ้นใจยากมาก โดยส่วนตัวแล้วการตัดสินใจปล่อยไปตามตามเกมเป็นเรื่องที่ง่ายกว่ามาก เราไม่ต้องทำอะไรแค่ปิดตาปิดหูแล้วทำตามคำสั่งไป “ตัดสิ้นใจ” 2หากเราเรือแตกกลางทะเล เรามีสองทางเลือกคือ หนึ่งลอยตัวอยู่ในน้ำจนความช่วยเหลือมาถึง(หรืออาจไม่มาเลย) และสองปล่อยตัวจมน้ำตายไปเลย เพราะว่ายไปก็เสียแรงเปล่า ในเมื่อจะต้องตายอยู่แล้ว มิสู้ตายให้พ้นทุกข์ไปเลยดีกว่า เราไม่มีทั้งรู้ว่าจะมีใครมาช่วยเราได้ไหม “ตัดสิ้นใจ” 3ในการจับฉลากแข่งขันดนตรี มีคนลงแข่งทั้งหมด 26 วง เมื่อวงสมัครเล่นจับฉลากได้เล่นต่อจากวงแชมป์ปีแล้ว นักดนตรีทุกคนก็อยากถอดตัวทันที เพราะเชื่อว่าไม่มีทางที่จะเข้ารอบได้ ซ้อมไปก็เสียเวลาเปล่า แต่สมองคนเราทุกครั้ง ที่ถูกสั่งว่าทำไม่ได้ สุดท้ายก็มั่งจะได้ผลรับอย่างนั้น ทัศนคติมักเป็นตัวกำหนดชะตาชีวิตเสมอ 1 , 3 ถ้าเรามองไม่เห็นเราก็ต้องตาย ถ้าเรามองเห็นแล้วไม่คิดจะแก้ ก็ไม่ต่างอะไรกับคนตาบอด สำหรับการแข่งขันนั้น เมื่อเรามุ่งหมายในรางวัล แม้เราไม่ได้รางวัล แต่อย่างน้อยเราก็ไม่ได้ความว่างเปล่ากลับมา หากเราเลือกไม่สู้ต่อ คนรุ่นหลังก็จะถูกฝั้งในหัวต่อว่าไม่มีทางทำได้ เพราะอย่างน้อยถ้าเราคิดจะสู้ ความล้มเหลวจะไม่ได้อยู่กับเราถาวร ปล.คนตาบอดตกเหวตายเพราะความไม่รู้ แต่หากคนตาดีรู้ทั้งรู้ยังยอมเชื่อ เดินตามไป จุดจบก็คงไม่พ้นก้นเหว
FOREST MAN
November, 13 2016